Pageviews

Monday, October 31, 2016

7 สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลี้ยง Crayfish ฉบับเต็ม

  


.การเลือกพันธุ์กุ้ง
การเลือกพันธุ์ Crafish  พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีควรมีการว่ายน้ำที่ปราดเปรียว แข็งแรง ลำตัวใส และเป็นกุ้งที่คว่ำมาแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ขึ้นไป อายุประมาณ 25-30 วันขึ้นไป และได้รับการปรับสภาพให้อยู่ในน้ำจืดไม่น้อยกว่า 1-2 วัน เพราะว่าการปล่อยกุ้งที่พึ่งคว่ำ 2-3 วันลงเลี้ยง ส่วนใหญ่อัตราการรอดตายจะต่ำเเละที่สำคัญ หากคุณเลี้ยงในเชิงพาณิชย์จะต้องมีการขึ้นทะเบียนการเลี้ยงให้ถูกต้อง(ข้อมูลเพิ่มเติม)


 
ผสมพันธุ์กันสำเร็จตัวเมียจะมีไข่
 
ให้แยกเอาตัวผู้ออกมาจากตู้
 
 เมื่อไข่ฟักออกเป็นลูกกุ้ง ในระยะลงเดิน
 ให้แยกลูกกุ้งออกมา  เอาลูกกุ้งไปอนุบาลต่างหาก 


2.การให้อากาศและอุณหภูมิของน้ำ
          ถ้าเราเลี้ยงกุ้งแค่ตัวเดียว  และมีพื้นที่กว้างและดูแลน้ำได้ดี  ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องให้อากาศก็ได้ 
         แต่ในระบบตู้เลี้ยง ซึ่งเน้นความสวยงาม  และเลี้ยงกุ้งหลายตัว หรือ กั้นตู้  การให้อากาศยังจำเป็นอยู่มาก  แต่กุ้งใช้อากาศน้อยกว่าปลา  สามารถใช้หัวทรายจุ่มลงในน้ำ  3-4 นิ้ว กันฟุ้ง  หรือใช้กรองในตู้  กรองแขวน กรองกล่องได้  ยกเว้นกรองแผ่นพื้นจะโดนกุ้งขุด และกรองฟองน้ำอาจโดนกุ้งแทะเล่น


          อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงCrayfish คือช่วง 23-28 องศาเซลเซียล ค่าPHที่เหมาะสมคือประมาณ PH7.5 - 8.5ที่มีความกระด้างสูง ผู้เลี้ยงสามารถใส่เกลือลงไปในตู้ได้เล็กน้อย เกลือยังช่วยเสริมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการลอกคราบและสร้างเปลือกใหม่ ด้วย สำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ผู้เลี้ยงควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ  สัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 30 -50 %ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงและการให้อาหาร  แต่ควรปรับอุณหภูมิน้ำให้ดี

Image result for พื้นที่เลี้ยงเครฟิช

3.เลือกพื้นให้เหมาะสม
ถ้าเราเลี้ยงกุ้งแค่ตัวเดียว  และมีพื้นที่กว้างและดูแลน้ำได้ดี  ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องให้อากาศก็ได้ 
        แต่ในระบบตู้เลี้ยง ซึ่งเน้นความสวยงาม  และเลี้ยงกุ้งหลายตัว หรือ กั้นตู้  การให้อากาศยังจำเป้นอยู่มาก  แต่กุ้งใช้อากาศน้อยกว่าปลา  สามารถใช้หัวทรายจุ่มลงในน้ำ  3-4 นิ้ว กันฟุ้ง  หรือใช้กรองในตู้  กรองแขวน กรองกล่องได้  ยกเว้นกรองแผ่นพื้นจะโดนกุ้งขุด และกรองฟองน้ำอาจโดนกุ้งแทะเล่น  
น้ำ


ตู้เลี้ยงและอ่างเลี้ยงกุ้ง
          1.เราสามารถเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในภาชนะใดๆก็ได้ ที่มีการถ่ายเทน้ำที่ดี  ไม่ร้อนเกินไป อุณหภูมิน้ำ ประมาณ  23 -28 องศา  อาจจะเป็นครึ่งบกครึ่งน้ำก็ได้  น้ำครึ่งตู้ น้ำเต็มตู้ก็ได้ หากจะเลี้ยงหลายๆตัวแต่ต้องกว้างขวางเพียงพอ  กุ้งใหญ่ขนาด 3-4 นิ้ว 1 ตัว ใช้พื้นที่อย่างน้อย 1  ฟุต
          2.ถ้าจะเลี้ยงหลายตัวควรเลือกเลี้ยงกุ้ง สายเดียวกัน ไซซ์ไล่เลียกัน เพื่อให้มันสามารถปกป้องตัวเองได้  มิเช่นนั้นกุ้งตัวเล็ก มักจะถูกรังแกและมีโอกาสที่จะถูกจับกิน
          3.ที่หลบซ่อนใช้ขอนไม้ กระถางดินเผา กระถางต้นไม้แตกๆ อุปกรณ์ที่เจาะเป็นโพรง หรือท่อพีวีซีตัด เป็นท่อนๆให้กุ้งหลบอาศัยในเวลากลางวัน กุ้งใหญ่    
          4.ปิดฝาหรือจุดที่กุ้งจะปีนหนีได้

 Image result for พื้นที่เลี้ยงเครฟิช
การเลือกวัสดุปูรองพื้น
          การเลี้ยงกุ้งเครฟิช ในตู้ เพื่อความสวยงามควรปูหินกรวดเล็ก รองพื้นตู้ ซึ่งมีมีประโยขน์ต่อกุ้งหลายประการคือ
          1.ทำให้กุ้ง ไม่ตื่นตกใจ และมีสรรสวยงามมากขึ้น กุ้งสามารถปรับตัวตามสิ่งแวดล้อมได้ ถ้าเน้นหินสีดำหรือน้ำตาล จะทำให้กุ้งมีสีเข้มขึ้น
          2.กุ้งป่า ส่วนมากจะขุด กรวดหิน เป็นที่หลบซ่อน
          3.หินกรวดช่วยดูดซับตะกอนและเศษอาหาร  ทำให้น้ำในตู้ใสอยู่เสมอ

Image result for พื้นที่เลี้ยงเครฟิช


4.อาหารและวิตามิน

เครฟิชเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้แทบทุกชนิด ทั้งอาหารเม็ด, อาหารสด หรือแม้กระทั่งผักสดในตู้เย็น บทความนี้จะช่วยแนะนำผู้เลี้ยงมือใหม่ให้รู้จักกับอาหารชนิดต่าง ๆ
>4.1 ผัดสดเเละผักลวก
ผักชนิดต่าง ๆ นำมาเลี้ยงเครฟิชได้เช่นกัน โดยเฉพาะผักที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูงซึ่งมีคุณสมบัติในการเร่งสีสัน ผักที่นำมาให้เครฟิชกินควรล้างให้สะอาดปราศจากยาฆ่าแมลง โดยสามารถให้ได้ทั้งผักสดและผักลวก ผักที่นิยมนำมาเลี้ยงได้แก่ แครอท, ฝักทอง, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักบุ้ง, สาหร่าย ฯลฯ
>4.2 อาหารสดอื่นๆ
อาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ เช่น กุ้งฝอย, ไรแดง, หนอนแดง,เนื้อปลาสด ฯลฯ ให้โปรตีนและมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ก็มีข้อเสียคือ ทำให้น้ำเน่าเสียง่าย และมีพยาธิหรือปรสิตที่เป็นอันตรายต่อเครฟิช
>4.3 อาหารเสริมหรือวิตามิน
>4.4 หินแร่



นิยมใส่ลงไปในตู้ที่เลี้ยงเครฟิช ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในน้ำ

  • หินทิดิไมท์ มีคุณสมบัติช่วยในการลอกคราบ เสริมแคลเซียม
  • หินเกรย์สโตน มีคุณสมบัติช่วยให้เปลือกกุ้งแข็งแรงหลังการลอกคราบ

5.การลอกคราบ
>5.1 ระยะก่อนการลอกคราบ
ปลายระยะก่อนการลอกคราบกุ้งจะไม่กินอาหาร จะสังเกตได้ว่ากุ้งเริ่มกินอาหารไม่หมดยอ แต่กุ้งจะดึงสารอาหารและพลังงานจากอาหารที่สะสมไว้ที่ตับมาใช้แทน การสร้างคราบใหม่ จะเริ่มสร้างไคตินจากอาหารที่สะสม ไกลโคเจนที่ถูกสะสมไว้จะลดลงเนื่องจากถูกนำไปสร้างไคตินในการพัฒนาให้เปลี่ยนเป็นเปลือกใหม่ ในระยะนี้จะพัฒนาเข้าสู่ระยะลอกคราบเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหารที่จะพัฒนาเป็นเปลือกใหม่
หากกุ้งได้รับสารอาหารและเปลี่ยนเป็นไคตินได้มากก็จะลอกคราบได้เร็ว แต่ในกรณีหากเกิดปัญหาการกินชะงัก หรือสารอาหารไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไคติน ในเปลือกใหม่ช่วงระยะเวลาในการลอกคราบ ก็จะยืดออกไป3-5 วัน ระยะนี้ความต้องการออกซิเจนของเซลล์จะเพิ่มมากขึ้น จะมีการดูดซึมพวกแร่ธาตุและสารอินทรีย์ต่างๆ ที่สะสมอยู่ที่เปลือกเก่ากลับเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านระบบเลือด ทำให้คราบเก่าอ่อนนุ่มลง 

>5.2 ระยะลอกคราบ
ในระยะนี้กุ้งจะหยุดการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ปริมาณกลูโคส, โปรตีนและไขมัน ในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากกุ้งต้องใช้พลังงานมากในการลอกคราบ เมื่อลอกคราบเสร็จแล้วจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดูดซึมจากกระแสเลือดและเนื้อเยื่อของร่างกาย ระยะนี้จะสั้นมากเพราะเป็นระยะที่อันตรายที่สุดในวงจรชีวิต มักพบการสูญเสียกับกุ้งที่สะสม สารอาหารไม่เพียงพอ กุ้งลอกคราบไม่ออก ลอกคราบติด เปลือกนิ่ม ตัวกรอบแกรอบ และมักกินกันเอง
Image result for เครฟิชลอกคราบ

>5.3 รยะหลังการลอกคราบ
หลังจากการถอดคราบสมบูรณ์แล้ว การสะสมแคลเซียมก็เริ่มต้นทันทีเพื่อช่วยเร่งการแข็งตัวของเปลือก ระยะนี้จะมีการดึงน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายมากที่สุด เพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของร่างกาย มีการสะสมแคลเซียมที่ บริเวณคราบชั้นนอก เมื่อเปลือกเริ่มแข็งก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหว และเริ่มกินอาหารเพิ่มขึ้น หลังจากระยะพักจากการลอกคราบ คราบใหม่แข็ง
Image result for เครฟิชลอกคราบ

หลังการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเสร็จสมบูรณ์ อาหารที่กุ้งกินในแต่ละวันจะเริ่มเพิ่มมากขึ้น อาหารที่กินเข้าไปจะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนไปให้สะสมในตับ อยู่ในรูปของสารอาหารพวก โปรตีน ไขมัน และ ไกลโคเจน เพื่อเป็นอาหารและพลังงานสำรองในการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารที่จำเป็นในการสร้างเปลือกใหม่อีกครั้ง ด้วยกลไกทางธรรมชาติ กุ้งจะรู้ตัวเองว่าสารอาหารต่างๆ ที่สะสมไว้เพียงพอ สำหรับการลอกคราบแล้ว การกินอาหารจะเริ่มลดลงเล็กน้อยและเตรียมเข้าสู่ระยะลอกคราบอีกครั้งเป็นวัฏจักรเช่นนี้ตลอด
ช่วงความถี่ ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งจะมีความถี่และความห่างในการลอกคราบแต่ระยะแตกต่างกันตามอายุของกุ้ง ดังนี้
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน/100 ตัว/กก.) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม(อายุ 3-4 เดือน/60 ตัว/กก.) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง
6. โรคที่มากับกุ้งเครฟิช


White Spot Virus: 
สามารถติดต่อไปยังกุ้งเครได้โดยทั้งทางน้ำและในอาหาร จุดเด่นคือการลอกคราบและสีที่เปลี่ยนไปของเปลือก (กุ้ง)บางสายพันธ์จะมีจุดสีขาวขึ้นหลายที่ (กุ้ง)บางสายพันธ์จะอาการซึมๆ (กุ้ง)บางสายพันธ์จุไม่ปรากฏอาการยกเว้นตอนใกล้ตายซึ่งจะประมาณ 2-18 วันหลังติดเชื้อ ที่มาของเชื้อมักติดจากกุ้งเครอื่นหรือกุ้งชนิดอื่น

Cherax Quadricarinatus Bacilliform Virus: 
คาดว่าจะติดต่อจากขี้กุ้งหรือแพลงตอน อาการจะซึมๆ ไม่สามารถกลับตัวได้เมื่อถูกกลับหัวและไม่มีปฏิกริยาการกระดิกหาง

Cherax Giardivirus-like virus:
คาดว่าจะติดต่อจากขี้กุ้งหรือแพลงตอน กุ้งมีอายุจะไม่มีการติดเชื้อแต่อัตราการตายของกุ้งวัยรุ่นจะสูงมาก

Rickettsail Infection:
ติดต่อโดยการกินสัตว์ที่ติดเชื้อ  กุ้งเครจะมีอาการหางอ่อนแอ ไม่สามารถกลับตัวได้เมื่อถูกกลับหัว และอ่อนแอทั้งตัว อาจแสดงสีฟ้าที่เฉดสีที่เท่ากันหรือเป็นจ้ำๆ 

Bacteria
มีแบคทีเรียหลายชนิดที่กุ้งเครจะใช้ชีวิตอยู่ด้วยได้โดยไม่แสดงอาการติดเชื้อ ถ้าแทงค์คุณสะอาดและอยู่ในสภาพดีก็ไม่มีปัณหา แต่ถ้ากุ้งเครเกิดเครียด (โดยเฉพาะอุณภูมิสูง/แกว่ง และค่าอ๊อกต่ำ) แบคทีเรียที่เมื่อก่อนไม่มีอันตรายเหล่านี้จะกลายเป็นแบคทีเรียฆาตกร อาการอาจรวมไปด้วยกล้ามเนื้อฝ่อ นอนตะแคง การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นลดลง อาการเซื่องซึม และ แผลฝกช้ำ

แบคทีเรียทุกชนิดจะเป็นอันตรายถึงชีวิตกุ้งเครที่อยู่ในน้ำคุณภาพต่ำหรือได้รับบาดเจ็บ

Crayfish Plague:
สามารถอยู่รอดได้ในเวลาไม่นานถ้าไม่ได้อยู่ในตัวกุ้งเคร ไม่มีภาหะอื่น โรคนี้เป็นอันตรายสุดๆต่อกุ้งเครทุกชนิดยกเว้นกุ้งเคร North American (NA) กุ้งเคร NA จะตายจากโรคต่อเมื่ออยู่ในน้ำคุณภาพต่ำหรือเครียด การตายจะอยู่ในระยะ 1-2 อาทิตย์ แต่อาจนานถึง 5 อาทิตย์ โรคจะติดต่อได้ไวในอุณหภูมิสูง ในกุ้งเครจะตายฉับพลันโดยไม่แสดงอาการ กุ้งเครที่เหยียบประตูนรกอาจแสดงอาการหางเป็นสีขาว คราบออกสีน้ำตาล ขาหลุด และ อัมพาต

(*โน๊ตผู้แปล: โรคนี้เป็นสาเหตุหลักที่กำจัดประชากรกุ้งเครในยุโรป และกุ้งเคร NA เข้ารุกรานแทนที่)

Saprolegnia Parasitica:
อาจทำให้ผิวคราบชั้นนอกเปลี่ยนสี การตายจะเกิดหลังหลายอาทิตย์แต่จะเร็วกว่าสำหรับกุ้งเครที่บาดเจ็บ

นอกจาก fungi ที่ลิสข้างบน การติดเชื้อ fungi ส่วนมากมักเกิดเมื่อบาดเจ็บ อ่อนแอ เครียด หรืออยู่ในน้ำคุณภาพต่ำ

Shell Rot:
อาการจะเป็นสีน้ำตาลช้ำๆ และคราบบุ๋มลงไป มักจะเกิดกับคราบชั้นนอกของกุ้งแต่อาจกระทบต่อเนื้อได้ มักเข้าใจผิดว่าเป็นโรคติดต่อ แต่ shell rot มักเป็นการเสียหายของเปลือก สภาพอยู่ที่แออัด คุณภาพน้ำต่ำ และกุ้งเครที่ไม่ค่อยลอกคราบเนื่องจากขาดอาหาร นักวิทยาศาสตร์ประสบผลสำเร็จน้อยมากในการพยายามทำให้กุ้งเครติดเชื้อนี้

Microsporidiosis:
เรียกอีกชื่อว่าโรค white tail, procelain and cotton tail เกิดได้จากพยาติขนาดไมโคร กุ้งเครจะอาการเซื่องซึมและข้างใต้หางจะมีสีขุ่นๆ หรือขาวๆ แทนที่จะใส ข้อมูลของพยาติมีน้อยมาก แต่กุ้งเครจะติดเชื้อได้ง่ายในสภาพอุณภูมิสูงและค่าอ๊อกต่ำ พยาติพวกนี้มักถึงตาย
Ciliates:
ทั้งแบบ facultative และ apostome ciliates จะมีในน้ำถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของกุ้งเคร พวกมันจะเล่นงานกุ้งเครเฉพาเมื่อบาดเจ็บหรือไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ อาการจะอ่อนหรือไม่มีการตอบสนองของหาง ไม่สามารถกลับตัวได้เมื่อถูกกลับหัว และเซื่องซึม
Fouling organisms
สิ่งมีชีวิตที่เกาะอยู่กับกุ้งเคร จะสามารถกำจัดได้โดยการเปลี่ยนน้ำสะอาด มีหลายชนิดที่เป็นประโยชน์หรืออย่างน้อยก็ไม่อันตรายต่อกุ้งเคร เช่น Temnocephalids และ Branchiobdellids พวกมันอาจดูไม่สวยและจะกำจัดได้ด้วยการแช่น้ำเกลือ 15 นาที แต่กระนั้นไข่ของพวกมันก็ยังติดอยู่
7. สิ่งที่ควรหลีกเลี้ยงเมื่อเลี้ยงเครฟิต
การเลี้ยงกุ้งเครย์ฟิช สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงซึ่งอาจทำให้กุ้งตายหรือเลี้ยงไม่โต
ลี้ยงภายในบ้าน ห้ามฉีดยากันยุง สเปร์ปรับอากาศ
และสารเคมี เส้นผมห้ามลงไปในตู้กุ้ง 
ล้างโลชันที่แขนและมือ ถ้าทาเล็บห้ามโดนน้ำตู้เลี้ยง
ลี้ยงนอกบ้าน ห้ามฉีดยากันยุง ห้ามฉีดปลวก ห้ามฉีดปุ๋ย
และสารเคมี ห้ามมีเส้นผมลงไปในตู้กุ้ง 
ล้างโลชั่นที่แขนและมือ  ถ้าทาเล็บห้ามโดนน้ำตู้เลี้ยง
ลี้ยงในนาในบ่อในร่องสวน
ห้ามใส่ปุ๋ยและสารเคมี
(เลี้ยงในนา ต้องเป็นนาที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีเท่านั้นถึงเลี้ยงได้)
Image result for เครฟิชลอกคราบ
 

No comments:

Post a Comment