จากการค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ และสอบถามผู้เชี่ยวชาญ สรุปได้ว่า การดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินของกุ้งจากในน้ำไม่ดี เท่ากับการที่กุ้งกินเข้าไปโดยตรง อาหารที่ให้กุ้งควรมีแร่ธาตุและวิตามินผสมอยู่
วิตามินต่างๆที่ผสมเข้าไปในอาหาร
วิตามิน เอ : มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเยื่อบุผิวต่าง ๆ เช่น ท่อทางเดินหายใจและท่อทางเดินอาหาร ช่วยในการมองเห็น การสืบพันธุ์ เสริมสร้างการเจริญเติบโต ช่วยในการสร้างเปลือก ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและเพิ่มความต้านทานเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค ช่วยให้กุ้งมีสีสวยขึ้น
อาการขาด : มีผลต่อการมองเห็นของกุ้ง การเจริญเติบโตช้า ติดโรคง่าย ทำให้กุ้งมีสีผิดปกติ เปลือกนิ่ม
วิตามิน ดี3 : ช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสในลำไส้ให้เป็นไปอย่างปกติ มีความสำคัญต่อขบวนการสร้างเปลือก ทำให้กุ้งลอกคราบได้สมบูรณ์ และเปลือกแข็งไว
อาการขาด : ทำให้กินอาหารลดลง มีผลต่อการเจริญเติบโต เปลือกไม่แข็งและเชื่องช้า
วิตามิน อี : ช่วยในการสังเคราะห์วิตามินซี เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอาหาร ช่วยให้การทำงานของวิตามินเอและดีเพิ่มขึ้น ช่วยให้เซลล์ตับแข็งแรงและลดการสะสมไขมันในตับ นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่ร่วมกับซิลิเนียมและวิตามินซีในการควบคุมการสืบพันธุ์
อาการขาด : ทำให้การสืบพันธุ์ไม่ดีและระบบการสืบพันธุ์ผิดปกติ สีของกุ้งผิดปกติ ตับบวม
วิตามิน เค : มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด แต่ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของกุ้ง
อาการขาด : ทำให้โลหิตจาง
วิตามิน บี1 : ช่วยให้การใช้คาร์โบไฮเดรตในร่างกายมีประสิทธิภาพ ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นความอยากกินอาหาร ทำให้กินอาหารได้มากขึ้น ช่วยในการย่อยอาหาร โตเร็ว
อาการขาด : เบื่ออาหาร ทำให้การเจริญเติบโตลดลง ระบบประสาทผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแอ สีซีด
วิตามิน บี2 : มีความสำคัญในการเผาผลาญอาหารประเภทแป้ง และไขมันกุ้ง ทำให้การใช้พลังงานของกุ้งเป็นไปตามปกติ ช่วยให้กุ้งกินอาหารเพิ่มขึ้น โตเร็วและลดอัตราการตายของกุ้ง
อาการขาด : เจริญเติบโตช้า ว่ายน้ำผิดปกติ ทำให้ผลผลิตและอัตราการแลกเนื้อไม่ดี
วิตามิน บี6 : มีหน้าที่สำคัญที่สุดคือการสร้างกรดอะมิโน และจำเป็นต่อการสร้างกรดไขมันที่จำเป็นแก่ร่างกายกุ้งและฮอร์โมนในระบบประสาท ช่วยให้กุ้งโตเร็วและลอกคราบได้ดี
อาการขาด : ทำให้เบื่ออาหาร น้ำหนักลด โตช้า ตับและหัวใจผิดปกติ อัตราการฟักตัวต่ำ อัตราการตายสุง
ว่ายน้ำผิดปกติ
วิตามิน บี12 : มีหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนมีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด สำคัญต่อการใช้และสร้างโปรตีนและกรดไขมันของตัวกุ้ง ช่วยให้กุ้งกินอาหารมากขึ้นและโตเร็ว
อาการขาด : ทำให้การสร้างโปรตีนลดลง การเจริญเติบโตไม่ดี
วิตามิน ซี : มีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจน ซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างเนื้อเยื่อ ช่วยทำให้เปลือกแข็งแรง แผลหายเร็วขึ้นและผนังเส้นเลือดแข็งแรง มีบทบาทในการสร้างฮอร์โมนของการลอกคราบ
ลดความเครียด สร้างภูมิต้านทาน กระต้นการกินอาหาร
อาการขาด : ลอกคราบช้า โตช้า ติดโรคได้ง่าย อัตรารอดต่ำ
ไนอะซีน : มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ช่วยให้กุ้งกินอาหารได้มากขึ้น โตเร็วและมีอัตราการแลกเนื้อที่ดี
อาการขาด : เบื่ออาหาร อัตราการเจริญเติบโตต่ำ
กรดแพนโทธีนิค : ช่วยกระตุ้นการกำจัดสารพิษในกรณีที่ตับอักเสบ หรือ ติดเชื้อโรค กุ้งจึงต้องการเพิ่มมากขึ้น
อาการขาด : ติดโรคได้ง่าย อัตรารอดต่ำ
โฟลิค แอซิค : มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดให้เป็นปกติ เป็นสารที่จำเป็นในการสร้างโครงสร้างกรดอะมิโน ส่งผลให้กุ้งกินอาหารมากขึ้น โตเร็ว
อาการขาด : การเจริญเติบโตช้า การฟักเป็นตัวต่ำ
แร่ธาตุต่างๆที่ผสมเข้าไปในอาหาร
แมกนีเซียม : แมกนีเซียมอยู่ในโครงสร้างร่างกายของกุ้ง 70 % ส่วนอีก 30 % พบในเนื้อเยื่อและเลือด กุ้งจะใช้แมกนีเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีสัดส่วนที่สมดุลกับแคลเซียม คือ อัตราส่วนแมกนีเซียม 3 ส่วนต่อแคลเซียม 1 ส่วน
ความสำคัญของแมกนีเซียม :
- กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หรือน้ำย่อยของกุ้งช่วยให้อาหารเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในการดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ โดยแมกนีเซียมจะช่วยในการกระตุ้นการทำงานของ ATPหากขาดแมกนีเซียมจะส่งผลให้การยืดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจผิดปกติ
-แมกนีเซียมช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แมกนีเซียมส่วนเกินจะถูกขับออกออกมาพร้อมกับอุจจาระ
ผลของการขาดแมกนีเซียม
- ค่าอัลคาไลน์ของน้ำไม่คงที่และลดต่ำลง กุ้งลอกคราบแล้วเปลือกแข็งช้า
- กล้ามเนื้อเกร็ง และเกิดสภาวะ หัวใจล้มเหลว
แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส : กุ้งจะใช้แคลเซียมควบคู่กับฟอสฟอรัสในอัตราส่วน 1 : 1 จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด แคลเซียมจะถูกดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีกว่าฟอสฟอรัส การดูดซึมของแคลเซียมจะเกิดได้ดีและมากขึ้น เมื่อมี วิตามิน ดี อยู่ด้วย ตามปกติแคลเซียมจะสะสมที่ตับและตับอ่อนในรูปของเกลือแคลเซียมฟอสเฟตและเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างภายนอกของกุ้ง เมื่อขาดแคลเซียมจะส่งผลให้กุ้งเปลือกบางนิ่มเปลือกแข็งช้าหลังจากลอกคราบ
โซเดียม และ โปแตสเซียม : เป็นองค์ประกอบในร่างกายของกุ้ง โดยจะเป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อ 90 % และโซเดียมที่เป็นส่วนเกิน กุ้งจะขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ
ความสำคัญของโซเดียมและโปแตสเซียม
-ควบคุมและรักษาสมดุลแร่ธาตุภายในร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอกให้สมดุลอยู่ตลอดเวลา
-รักษาสภาวะความเป็น กรด - ด่าง ของร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอ
ผลของการขาดโซเดียมและโปแตสเซียม
-กุ้งเบื่ออาหาร โตช้าสูญเสียน้ำหนักตัว
-การใช้ประโยชน์จากโปรตีนน้อยลง เนื่องจากโซเดียมเป็นตัวกระตุ้นการทำงาน หรือ โคเอนไซม์ ของ เอนไซม์ โปรติเอส ( น้ำย่อยโปรตีน ) หากขาดโซเดียมจะทำให้การย่อยโปรตีนต่ำลง
-เลือดเป็นกรด
ทองแดง : จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของกระดูกและเป็นองค์ประกอบสำคัญของเลือดของกุ้ง ในอาหารควรมีธาตุทองแดง เพื่อให้การเจริญเติบโตและการสร้างเม็ดเลือดของกุ้งเป็นไปอย่างปกติ
เหล็ก : ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเม็ดเลือดแดงธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อการหายใจของกุ้ง
แมงกานีส : การนำแมงกานีสไปใช้ประโยชน์ในร่างกายยังถูกยับยั้งด้วยphytic acid อาการขาดแมงกานีสจะทำให้โตช้า การพัฒนาของเปลือกผิดปกติ ลูกวัยอ่อนตายสูง และอัตราการฟักจะต่ำ
สังกะสี : เป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์หลายชนิด เช่น alkaline phosphatase เพื่อทำให้ขบวนการสร้างเนื้อเยื่อเป็นไปได้อย่างปกติ
ซีลีเนี่ยม : ซิลีเนียมเป็นธาตุที่ช่วยป้องกันเซลล์จากการทำลายของ peroxidase อาการขาดซิลีเนียมคือทำให้การพัฒนาของเปลือกผิดปกติ
โคบอลต์ : กุ้งต้องการโคลบอลต์เพื่อใช้สร้างวิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
เเละส่วนสุดท้ายที่สำคัญมากๆ คือโปรตีนหากวิตามินครบเเล้วเเต่ยังขาดโปรตีน ถือได้ว่าขาดเกือบทั้งหมดเนื่องจากตัวเปลือกเเละความเข็งเเรงของกุ้งนั้นมาจากโปรตีนทั้งสิ้น ในการเลือกผสมอาหารหรือให้อาหารควรเน้นไปที่เป็นตีนเป็นหลักในอาหาร 100 กรัม ควรมีโปรตีนมากกว่า 10 กรัมเเละกุ้ง 1 ตัวควรได้รับโปรตีน > 3 กรัม ใน 1 วัน*(ตามมารตฐานการเพาะเลี้ยง)
No comments:
Post a Comment